ยอดวิว Visit

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ถึงเวลาพัฒนาเทคโนโลยีติดตามเครื่องบินสูญหายกันหรือยังคะ

ถึงเวลาพัฒนาเทคโนโลยีติดตามเครื่องบินสูญหายกันหรือยังคะ

ลำแรกสูญหายในปี 2557

  เหตุการณ์เครื่องบินตก ซึ่งเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเริ่มจากวันที่ 8 มีนาคม 2557 เมื่อเครื่องโบอิ้ง 777 สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินเอ็มเอช 370 จากกัวลาลัมเปอร์มุ่งสู่ปักกิ่ง มีผู้โดยสาร 239 คนหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากระบบสื่อสารบนเครื่องถูกปิดลง จนมีการคาดคะเนสาเหตุไปต่าง ๆ ได้แก่ เกิดการจี้เครื่องบิน, เป็นแผนการร้ายของนักบินเองหรือเกิดเหตุฉุกเฉินบนเครื่อง เช่น ไฟไหม้แบตเตอรี่โทรศัพท์(จาก kapook)
มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 (MH370) เป็นเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศ เส้นทางการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย จุดหมายปลายทางที่ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน ปฏิบัติการโดยอากาศยานโบอิง 777-200 อีอาร์  ทะเบียน 9M-MRO ได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอยบริเวณทะเลจีนใต้ ระหว่างน่านน้ำเวียดนามและมาเลเซีย บนเครื่องมีผู้โดยสาร 227 คน และสมาชิกลูกเรือ 12 คน ยังกำหนดชื่อภายใต้ความตกลงใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันว่า ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ ซีแซด 748)
เที่ยวบินดังกล่าวออกจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเวลา 00.41 น. ตามเวลามาตรฐานมาเลเซีย (UTC+8) ของวันที่ 8 มีนาคม 2557 โดยมีกำหนดบินหกชั่วโมงไปยังกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน รายงานชี้ว่าศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศสุบังเสียการติดต่อกับเครื่องบินเมื่อเวลาประมาณ 1.22 น. ขณะบินอยู่เหนืออ่าวไทย เครื่องได้รับรายงานว่าสูญหายเมื่อเวลา 2.40 น.  กว่า 12 ประเทศพยายามค้นหาและกู้ภัยร่วมกัน ครอบคลุมพื้นที่ 27,000 ตารางไมล์ทะเล (93,000 ตารางกิโลเมตร) ในช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้ 
การค้นหาเครื่องบินในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ใช้งบประมาณในการค้นหาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน จาก wiki 


ลำที่สองสูญหายในปี 2557


เครื่องบินแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย ขึ้นบินจากสนามบินสุบารายา ขาดการติดต่อกับหอบังคับการบิน 

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า วันนี้ (28 ธ.ค. 57) เครื่องบินแอร์บัส 320-200 ของสายการบินแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย เที่ยวบิน QZ8501 อินโดนีเซีย - สิงคโปร์ ขึ้นบินจากสนามบินสุบารายา ขาดการติดต่อกับหอบังคับการบินจาการ์ตาร์ เมื่อเวลา 06.15 น. เวลาตามเวลาท้องถิ่น ทั้งนี้ ไฟต์ดังกล่าวมีกำหนดถึงสิงคโปร์ในเวลา 08.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น 

เบื้องต้นมีรายงานว่า เครื่องบินลำดังกล่าวมีลูกเรือ 155 คน ประกอบด้วย ผู้โดยสารอินโดนีเซีย 149 คน เกาหลี 3 คน สิงคโปร์ 1 คน อังกฤษ 1 คน และมาเลเซีย 1 คน ยังไม่ทราบชะตากรรม

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า เครื่องบินสูญเสียการติดต่อกับหอบังคับการบิน สนามบินสุบารายา เป็นเวลา 42 นาที หลังจากขึ้นบิน โดยเบื้องต้นเชื่อว่า จุดที่สูญเสียการติดต่อน่าจะเป็นจุดที่อยู่เหนือทะเลชวา ช่วงระหว่างเกาะกาลีมันตัน และ เกาะชวา 

ต่อมา เวลา 11.55 น. เฟซบุ๊กของสายการบินแอร์เอเชียไทย ได้เปลี่ยนรูปโปร์ไฟล์โลโก้ เป็นสีเทา พร้อมกับแจ้งว่า ขณะนี้ การค้นหาและกู้ภัยกำลังอยู่ระหว่างการปฏิบัติการ

ขณะที่ แอร์เอเชียของอินโดนีเซีย ได้ออกแถลงการว่า รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการสูญหายของเที่ยวบิน QZ8501 จากสุบารายา ถึงสิงคโปร์ ที่ได้ขาดการติดต่อกับหอบังคับการบินในช่วงเวลา 07.24 น. ซึ่งเวลานี้ยังไม่มีข้อมูลละเอียดของผู้โดยสารและลูกเรือเพิ่มเติม แต่ทว่าแจ้งข้อมูลของเครื่องบินแอร์บัส A320-200 หมายเลขทะเบียน OK-AXC ให้ทุกฝ่ายทราบ

ล่าสุดอยู่ในช่วงการค้นหา และการดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งทางแอร์เอเชียจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยตั้ง Call Center สายด่วนแอร์เอเชียฉุกเฉินไว้สำหรับเฉพาะให้ครอบครัวและญาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบินนี้เท่านั้นเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่เบอร์โทรศัพท์ +622129850801

ทั้งนี้แอร์เอเชียจะเปิดเผยข้อมูลละเอียดเพิ่มเติมให้รวดเร็วที่สุด และสามารถอัพเดตข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.airasia.com

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มีแถลงการณ์ฉบับที่ 2 กรณีเที่ยวบินของสายการบินแอร์เอเชียอินโดนีเซีย QZ8501 สายการบินแอร์เอเชียอินโดนีเซีย โดยเครื่องบินที่ให้บริการเที่ยวบินนี้คือ แอร์บัสมีนักบินจำนวน 2 คน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 4 คน และวิศกรอากาศยาน 1 คน กัปตันผู้ควบคุมเครื่องบินมีชั่วโมงบินทั้งสิ้น 6,100 ชั่วโมง ส่วนนักบินผู้ช่วยมีชั่วโมงบินทั้งสิ้น 2,275 ชั่วโมง

สำหรับเที่ยวบินนี้มีผู้โดยสารทิ้งสิ้น 155 คน แบ่งเป็นผู้ใหญ่ 138 คน เด็ก 16 คน และทารก 1 คน รวมทั้งนักบิน 2 คนและลูกเรือ 5 คน ผู้โดยสารบนเที่ยวบินนี้ ประกอบด้วย ชาวสิงคโปร์ 1 คน ชาวมาเลเซีย 1 คน ชาวเกาหลีใต้ 3 คน ชาวฝรั่งเศส 1 คน และชาวอินโดนีเซีย 156 คน

ขณะนี้ ทีมค้นหาและช่วยเหลือกำลังเร่งทำงานภายใต้คำแนะนำจากสถาบันการบินพลเรือนของอินโดนีเซีย (Indonesia of Civil Aviation Authority หรือ CAA) และแอร์เอเชียอินโดนีเซียได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในทุกทาง เครื่องบินทำการบินตามเส้นทางที่ได้แจ้งไว้ ก่อนจะถูกขอให้เบี่ยงออกจากเส้นทางระหว่างทางเนื่องจากสภาพอากาศ ก่อนจะขาดการสื่อสารกับหอบังคับการบิน ขณะนั้นยังอยู่ในการควบคุมของหอบังคับการบินอินโดนีเซีย (Indonesian Air Traffic Control หรือ ATC)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น